ลูกโม่โครงโพลิเมอร์ รูเกอร์ LCR .22 แม็กนั่ม

สำหรับนายแบบของสัปดาห์นี้ เป็น LCP .22 แม็กนั่ม จุกระสุนหกนัด เนื้อเหล็กของส่วนโม่มากกว่า .38 ทำให้ตัวหนักกว่าเล็กน้อย กระสุน .22 แม็กนั่ม หัวกระสุนมาตรฐาน 40 เกรน
เสาร์ที่ 3 มิถุนายน 2560 เวลา 04.00 น.


“รู้-ลอง-เลือกปืน” เริ่มตีพิมพ์ครั้งแรกใน เดลินิวส์ ฉบับวันเสาร์ที่ 2 มิ.ย. 2555 ด้วยปืนลูกโม่ยุคใหม่ Ruger LCR ขนาด .38 Special มาถึงวันนี้ครบรอบห้าปี ได้นายแบบหน้าเดิมอีกครั้ง แต่เป็นขนาดกระสุน .22 WMR (Winchester Magnum Rimfire) ที่เราเรียกกันคุ้นเคยว่า “ลูกกรดแม็กนั่ม”

รูเกอร์ เริ่มผลิตปืนลูกโม่ชุด LCR ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 ตัวย่อ LCR มาจาก Lightweight, Compact Revolver เป็นปืนแนวคิดใหม่ใช้วัสดุสี่ชนิด คือ ลำกล้องและโม่สเตนเลส, โครงส่วนบนอัลลอยด์, โครงส่วนล่างโพลิเมอร์ และด้ามยางสังเคราะห์ จุดประสงค์เพื่อให้ได้ปืนน้ำหนักเบาแต่ทนทานเหมือนเป็นเหล็กล้วนทั้งกระบอก ตลาดสหรัฐให้การยอมรับอย่างดี ร้านปืนบ้านเราใช้เวลาเกือบสองปีจึงได้รับปืนมาวางขาย
realguns.com


ในช่วงก่อตั้งบริษัทใหม่เป็นผู้ผลิตรายย่อย รูเกอร์ทำปืนลูกโม่เฉพาะแบบซิงเกิลแอ๊ค ชั่น รูปทรงคลาสสิกแบบปืนโคบาล อาศัยจังหวะที่ต้นตำรับคือ โคลท์ เลิกผลิตปืนแบบนี้เพราะตลาดแคบและต้นทุนสูง รูเกอร์ยึดตลาดนี้ไว้ได้แบบไม่มีคู่แข่ง จนตั้งเนื้อตั้งตัวมั่นคงจึงเริ่มทำลูกโม่แบบดับเบิล เปิดโม่ออกข้าง หวังจับตลาดปืนตำรวจในยุค ค.ศ.1960-70 มีเอกลักษณ์ของตัวเองคือ โครงปืนทึบไม่เปิดข้าง, ชุดลั่นไกถอดได้ทางด้านล่าง, มีแท่งส่งผ่านแรงเป็นระบบนิรภัย นกสับพาดกับโครงไม่แตะท้ายเข็มแทงชนวน, ปุ่มปลดโม่กดให้จมลงในโครง ไม่ผลักเดินหน้าหรือถอยหลัง, เพิ่มตัวล็อกโม่ด้านหน้าเป็นกระเดื่องที่บานพับ ล็อกกับร่องที่โครงปืนใต้โคนลำกล้อง, มีส่วนที่เหมือนเจ้าเก่าอยู่บ้าง คือตัวหยุดโม่ทำเบี่ยงจากกลางโครงเหมือนโคลท์ แต่โม่หมุนทวนเข็มนาฬิกา ทางเดียวกับสมิธฯ

เมื่อปรับแบบจากลูกโม่เหล็กล้วนมาเป็น LCR รูเกอร์แยกปืนเป็นสามส่วน หนึ่งคือส่วนรับแรงระเบิดโดยตรงได้แก่ลำกล้องและตัวโม่ ใช้วัสดุเหล็กสเตนเลส, สองคือส่วนโครงปืนรอบโม่และลำกล้อง ใช้อลูมินัมอัลลอยด์ระดับอากาศยาน, สามคือส่วนการทำงานของกลไกและด้าม ใช้โพลิเมอร์เสริมใยแก้ว ทำให้ได้ตัวปืนน้ำหนักไม่ถึง 400 กรัม โดยความแข็งแรงเทียบได้กับปืนเหล็กล้วน ต่อมาเมื่อเพิ่มขนาดกระสุนเป็น .357 แม็กนั่ม เปลี่ยนวัสดุโครงปืนเป็นสเตนเลส น้ำหนักตัวปืนเพิ่มเป็น 480 กรัม ซึ่งรูเกอร์ให้เหตุผลว่า ต้องการให้ปืนหนักเพื่อช่วยลดแรงสะบัด ความจริงแล้วโครงอัลลอยด์เดิมก็รับแรงดันได้อย่างปลอดภัยอยู่แล้ว



นอกจากการเลือกใช้วัสดุแล้ว สิ่งที่เปลี่ยนไปเมื่อเทียบกับรูเกอร์รุ่นก่อน คือตัวล็อกโม่ด้านหน้า ย้ายไปไว้ที่ปลายก้านคัดปลอก และตัวหยุดโม่ขยับมาอยู่กลางโครงปืน สองจุดนี้เหมือนสมิธฯ และรูเกอร์คุยว่า ชุดลั่นไกแบบดับเบิลล้วนออกแบบใหม่หมด มีส่วนโค้งแบบลูกเบี้ยวช่วยให้แรงเหนี่ยวไกสม่ำเสมอตลอดทาง ไม่ใช่หนักต้นทางแล้วไกถลำ หรือช่วงแรกเบาแต่ช่วงก่อนลั่นหนักมากเมื่อสปริงหดตัวเต็มที่

สำหรับนายแบบของสัปดาห์นี้ เป็น LCP .22 แม็กนั่ม จุกระสุนหกนัด เนื้อเหล็กของส่วนโม่มากกว่า .38 ทำให้ตัวหนักกว่าเล็กน้อย กระสุน .22 แม็กนั่ม หัวกระสุนมาตรฐาน 40 เกรน เมื่อยิงจากลำกล้องสองนิ้ว ได้ความเร็วประมาณ 900 ฟุต/วินาที คำนวณพลังงานได้ 72 ฟุต-ปอนด์ หรือถ้าเป็นแบบหัวกระสุน 30 เกรน จะได้ความเร็ว 950 ฟุต/วินาที พลังงานลดลง คือ 60 ฟุต-ปอนด์ ถ้าใช้เป็นปืนพกพาป้องกันตัว เลือกกระสุนหัวหนักเหมาะสมกว่า.

....................................
ดร.ผณิศวร ชำนาญเวช ... อ่านต่อที่ : https://www.dailynews.co.th/article/577420
ลูกโม่โครงโพลิเมอร์ รูเกอร์ LCR .22 แม็กนั่ม... อ่านต่อที่ : https://www.dailynews.co.th/article/577420
http://www.ruger-firearms.com/products/lcr/models.html
Share on Google Plus

About Volk-69

This is a short description in the author block about the author. You edit it by entering text in the "Biographical Info" field in the user admin panel.
    Blogger Comment

0 comments:

Post a Comment